แสงสว่าง ช่วยงานคุณได้ : 4 ข้อกับการจัดแสงสว่างในมุมทำงานอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

Home / work from home / แสงสว่าง ช่วยงานคุณได้ : 4 ข้อกับการจัดแสงสว่างในมุมทำงานอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

แสงสว่าง ช่วยงานคุณได้ : 4 ข้อกับ การจัด แสงสว่าง ในมุม ทำงาน อย่างไร ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานต่างๆ ในปัจจุบัน ให้ความ สำคัญ กับ การจัด รูปแบบสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยส่งเสริมด้านความรู้สึกของผู้อยู่อาศัยและผู้ปฏิบัติงานมากเป็นพิเศษ ปัจจัยหนึ่งที่หลายคนมองข้ามไป คือ “ แสงสว่าง ” ซึ่งหากเราสามารถออกแบบหรือมี การจัด การปัจจัยเรื่อง แสงสว่าง ได้ดี นอกจากช่วยลดการใช้พลังงานภายในอาคารแล้ว หลายงานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า แสงสว่าง ที่เพียงพอมีผลต่อความรู้สึกเชิงบวก, ความคิดสร้างสรรค์, สมาธิ-อารมณ์ รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการ ทำงาน อย่างมีนัยยะ สำคัญ ได้อีกด้วย

การจัด แสงสว่าง ทำงาน สำคัญ

แสงสว่าง คืออะไร? มีผลอย่างไรกับสุขภาพ?

แสงสว่าง เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง อยู่ในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความถี่ในระยะช่วงที่เราสามารถมองเห็นได้ โดยมีความยาวคลื่นประมาณ 380-780 นาโนเมตร มีค่าวัดความสว่างอยู่ในหน่วยของ ลักษ์ (Lux) ยิ่งสว่างมากค่าลักษ์ก็มากตาม แสงสว่าง สามารถแบ่งประเภทได้จากแหล่งกำเนิดของ แสงสว่าง เป็น 2 ประเภทหลัก ได้ดังนี้

  • แสงสว่าง จากแหล่งกำเนิดธรรมชาติ (Natural Lightning) หรือ แสงจากดวงอาทิตย์
  • แสงสว่าง จากสิ่งประดิษฐ์ (Artificial Lighting) ตัวอย่างเช่น หลอดไฟ ขดลวดนำความร้อน แฟลชถ่ายภาพ เป็นต้น

แสงสว่าง กับ สุขภาพกาย

แสงสว่าง มีผลกับสุขภาพของร่างกายของเราโดยตรง การผลิตสารเคมี ฮอร์โมนต่างๆ ภายในร่างกายหลายตัวมีความสัมพันธ์กับ แสงสว่าง โดยเฉพาะกับแสงจากธรรมชาติ ร่างกายของคนเรามีระบบการ ทำงาน เป็นตารางเวลา หรือที่เราคุ้นเคยกันกับคำว่า นาฬิกาชีวิต หรือนาฬิกาชีวภาพ (Biological Clock) หากเราสามารถเข้าถึง แสงสว่าง ธรรมชาติในช่วงกลางวัน หรือเลี่ยง แสงสว่าง ในเวลากลางคืนเมื่อร่างกายต้องการพักผ่อนได้ตามช่วงเวลา ตามตารางชีวิตที่เหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจมีความสุขมากขึ้น รู้สึกกระฉับกระเฉง และประสิทธิภาพการ ทำงาน ระหว่างวันที่ดีขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

ผลกระทบจาก แสงสว่าง ไม่เพียงพอนั้น ส่งผลโดยตรงกับประสาทการมองเห็น การใช้หลอดไฟคุณภาพต่ำ แสงสว่าง ที่ไม่เพียงพอ อาจทำให้กล้ามเนื้อตาเกิดอาการล้าจากการเพ่ง หรือ แสงสว่าง ที่สว่างจ้าบาดตาจนเกินไปนั้น และแสงไฟกระพริบส่งผลกระทบให้ดวงตาทำงานหนักและอาจส่งผลกระทบให้เกิดอาการปวดตาจนถึงขั้นปวดไมเกรนได้

แสงสว่าง กับ สุขภาพจิต

แสงสว่าง เป็นปัจจัย สำคัญ อย่างหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการ ทำงาน โดยมีการทดลองพบว่าการ ทำงาน ภายใต้ แสงสว่าง ที่เพียงพอ ลดความผิดพลาดได้สูงถึง 60% เลยทีเดียว เพราะ แสงสว่าง ช่วยให้ดวงตาสามารถ ทำงาน ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงมองเห็นรายละเอียดต่างๆ ได้ชัดเจนและแม่นยำยิ่งขึ้น รวมถึงความรู้สึกสบาย ปลอดโปร่ง ซึ่ง สำคัญ สำหรับบรรยากาศของการ ทำงาน ที่ดีและได้คุณภาพ

นอกเหนือจากความความสว่างแล้ว อุณหภูมิสีของแสงไฟ ยังมีบทบาทต่อการเพิ่มผลผลิตในการทำงานต่างๆ อีกด้วย โดยแสงสีฟ้าในหลอดไฟ Cool White ส่งผลในการลดระดับเมลาโทนิน จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว สร้างสมาธิจดจ่อต่องานได้ดี ช่วยให้เกิดความแม่นยำในการทำงานสูง

แสงไฟอุณหภูมิแสงระดับกลาง หรือ Natural White นั้น มีแสงที่สร้างความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลายมากกว่า ในขณะเดียวกัน ยังมีแสงสีฟ้า ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวได้อีกด้วย เหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่ ทำงาน ทั่วไป รวมถึงห้องประชุม

ในขณะที่แสงโทนอุ่นอย่าง Warm White กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายได้ดี อันเป็นภาวะเหมาะสมต่อการ ทำงาน สร้างสรรค์ รวมถึงอาจนำมาใช้ในโซนพักผ่อนสำหรับพนักงาน เพื่อช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้าได้อย่างดี

การจัด แสงสว่าง ทำงาน สำคัญ

 

ในมุม ทำงาน หรือห้อง ทำงาน ควรมี การจัด แสงสว่าง แบบใดให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด

1. แสงธรรมชาติ เป็น แสงสว่าง ที่ใช้ทำงานได้ดีที่สุด

ในช่วงเวลากลางวัน ควรจัดพื้นที่ ทำงาน ในระยะใกล้ชิดกับหน้าต่าง หรือริมระเบียงให้มากที่สุด บริเวณการทำงานควรอยู่ในบริเวณที่ได้รับแสงธรรมชาติอย่างเพียงพอ เพราะแสงธรรมชาติคือแสงที่สบายตาที่สุดสำหรับมนุษย์ และถ้าหากบางช่วงเวลาแสงแดดแรงเกินไป ก็สามารถนำผ้าม่านที่ปรับระดับความเข้มของแสงได้มาช่วยกรองแสงบริเวณจุด ทำงาน และหน้าต่าง ส่วนการจัดทิศทางของแสงธรรมชาติ ควรให้แสงเข้ามาทางด้านหน้าของโต๊ะ ทำงาน แต่อยู่เหนือระดับสายตา เพื่อป้องกันการเพ่งสายตาในระหว่าง ทำงาน หรือถ้ามีพื้นที่ไม่เพียงพอ ก็สามารถจัดทิศทางให้แสงธรรมชาติเข้ามาด้านข้างได้เช่นกัน และถ้าเราจะป้องกันเรื่องเงาที่จะมารบกวนเวลาทำงาน หากเราถนัดซ้ายควรมี การจัด ให้แสงเข้ามาทางด้านขวา และถ้าถนัดขวา ควรมี การจัด ให้แสงเข้ามาทางด้านซ้าย หรือหากทำงานในห้องที่มีหน้าต่างให้แสงเข้ามาในหลายๆมุม ก็จะเป็นผลดีกับการ ทำงาน ของคุณ

2. การเลือกใช้หลอดไฟ หากแสงธรรมชาติไม่เพียงพอ หรือ ทำงาน ช่วงเวลากลางคืน

หากเราต้อง ทำงาน ในเวลากลางคืน หรือช่วงที่ไม่มีแสงธรรมชาติเพียงพอ ซึ่งบริเวณห้อง ทำงาน หรือโต๊ะทำงานนั้นจะมี แสงสว่าง จากธรรมชาติไม่เพียงพอแน่นอน ก็สามารถใช้หลอดไฟ นำมาใช้แทนแสงธรรมชาติได้ ส่วนสีของหลอดไฟควรใช้โทน Cool White เพื่อทำให้เกิดความสบายตาในขณะการ ทำงาน และทำให้สีจากงานไม่ผิดเพี้ยน

ความสว่างที่ควรใช้ในห้อง ทำงาน ควรใช้ความสว่างประมาณ 400 – 600 ลักซ์ เพื่อการมองเห็นที่ชัดเจนในการทำงาน ถ้าใช้ความสว่างน้อยหรือมากไปกว่านี้ จะทำให้ไม่สบายตาและยังไม่ดีต่อสายตาในการ ทำงาน อีกด้วย

การจัด แสงสว่าง ทำงาน สำคัญ

3. การ ทำงาน ในช่วงเวลากลางคืน ควรมี การจัด โคมไฟตั้งโต๊ะช่วยเพิ่มแสงสว่าง

ทำงานในช่วงเวลากลางคืน ควรหาโคมไฟตั้งโต๊ะที่สามารถปรับระดับ หรือขยับไปมา เพื่อเพิ่มความสว่างให้กับโต๊ะทำงานเพิ่มเติม เพราะโคมไฟจะช่วยทำให้สามารถมองเห็นงานได้ชัดเจนมากขึ้น จะไม่ต้องเพ่งตาในขณะทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำงานที่มีความละเอียดสูง งานหน้าคอมพิวเตอร์ การอ่านหนังสือ หรืองานเช่น วาดรูป ทำงานประดิษฐ์ ควรใช้หลอดไฟสี Cool White เพื่อสร้างความสบายตา ทิศทางที่ตั้งของโคมไฟก็เป็นอีกเรื่องที่ สำคัญ ควรตั้งโคมไฟไว้ด้านตรงข้ามมือที่เราถนัดเพื่อไม่ให้เงาจากโคมไฟมาบังในขณะที่กำลัง ทำงาน

4. หลีกเลี่ยงไฟสะท้อน ช่วยลดการเพ่ง และอาการปวดตา

การ ทำงาน อยู่ใต้โคมไฟเหนือศีรษะ อาจก่อให้เกิดการสะท้อนของไฟ ซึ่งทำให้เราต้องเพ่งมากกว่าปกติ เมื่อเพ่งไปนานๆ ก็จะก่อให้เกิดอาการปวดตาได้ เราจึงควรหลีกเลี่ยงการ ทำงาน ใต้โคมไฟโดยตรง เราสามารถแก้ปัญหาได้โดยเปลี่ยนมุม ทำงาน หรือปรับทิศทางของแสงเพื่อให้มุมสะท้อนกระจายออก หรือสะท้อนเข้าที่ดวงตาเราน้อยลง

จากที่กล่าวไป แสงสว่าง นั้น มีผลกับการทำงานมากเลยทีเดียว หากเราลองปรับเปลี่ยนสักนิด เราก็สามารถเพิ่มความสุขกับการ ทำงาน ได้ไม่ว่าจะที่ทำงานหรือที่บ้านก็ตาม เมื่อเรามีความสุขหรือสมาธิที่เพิ่มขึ้น ผลงาน ความคิดสร้างสรรค์ สุขภาพกายและใจก็จะดีตาม หวังว่าทริคเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ จะสามารถช่วยให้ทุกคนมีความสุขกับการใช้ชีวิตในทุกๆ วันครับ

หากอยากจะเข้ามาพูดคุยกับเรา ก็สามารถพูดคุยกันได้ที่ Facebook : https://www.facebook.com/FlinkOneLift/

ติดตามบทความอื่นๆได้อีกที่ https://www.flinkone.com/blog/

แบ่งปันกับเพื่อนๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง